วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล



1. ความเป็นมาและปัญหา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็นโครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรงทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดํารให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนื อตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิ จกรรมต่ างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้ นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม ่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่ งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุ ปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้ความ เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำาบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริต่ างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สํ าหรับการบริหารจั ดการแหล่งน้ำ บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกตฺ์ใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพ อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง มีแหล่งน้ำ สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน







4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต
กิจกรรมหลัก ผลผลิต
1. สำรวจธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา สำรวจทางธรณีฟิสิก์ เจาะสำรวจ หยั่งธรณีหลุมเจาะ จำแนกชั้นน้ำบาดาล ศึกษาชลศาสตร์ ของชั้นน้ำบาดาล
2. จัดทำสถานีสังเกตการณ์ระดับน้ำ และคุณภาพน้ำบาดาล
3. ก่อสร้างบ่อบาดาล เพื่อการอุปโภค บริโภค และ/หรือเพื่อการเกษตร
4. ก่อสร้างระบบพักน้ำและส่งน้ำ
5. วิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาล
6. ดำเนินการ จัดทำรายงาน และจัดประชุมสัมมนา
1. แผนที่อุทกธรณี วิทยาพื้นที่โครงการ พระราชดำริพร้อมข้อมูลคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของน้ำบาดาล 5 แห่ง
2. สถานีสังเกตุการณ์ระดับน้ำและคุณภาพน้ำบาดาลทั้งระดับต้น กลาง ลึก 20 แห่ง
3. บ่อน้ำบาดาลพร้อมเครื่องสูบน้ำในพื้นที่โครงการพระราชดำริ 14 พื้นที่ ๆ ละ 10 บ่อ รวม 140 บ่อ
4. ระบบพักน้ำและส่งน้ำ 14 ระบบ
5. ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ
6. รายงานโครงการฯ จำนว น 5 ฉบับ
5. พื้นที่เป้าหมาย / กลุ่มเป้าหมาย
พื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 14 แห่ง
1.โครงการหลวงหนองหอย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริ่ม จังหวัดเชียงใหม่
2.โครงการหลวง แม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
3. โครงการฟาร์มตัวอย่างสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
• โครงการบ้านดอยตาล-ดอยผาเม่น-ตาจิ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
• บ้านแม่ตุงติง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
• โครงการสถานีถ่อยทอดการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านแปกแซม อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
• โครงการฟ้าแม่ดอยยาว บ้านห้วยจะด่าน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
4. โครงการพระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราบรมราชชนนี อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
5. สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง (ระยะที่ 2) ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
6. พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่
7. พระตำหนังภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร
8. โครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯ อำเภอ โพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
9. โครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯ ผาน้ำทิพย์ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
10. โครงการส่งเสริมศิลปาชีพฯ บ้านยางน้อย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
11. วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
6. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
เกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 5 โครงการ จำนวนไม่ต่ำก่าร้อยละ 80 มีน้ำหนักสำหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค

โครงการฝาย (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ)


โครงการฝายคลองช่องเรือ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี

ที่ตั้งโครงการ
หมู่ที่ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี
ประวัติโครงการ
สํานักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวังได้มีหนังสือที่ รล0005/13381 ลงวันที่ 24 กันยายน 2544 เรียนเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อพิจารณาเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เพื่อจักได้นำความถวายบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริต่อไปโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือที่ นร 1108/2098 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณา กรณี นายอาดัม บาเหมบูงา ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 กันยายน 2544 ถึงสํานักราชเลขาธิการ ขอให้นําความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค-บริโภค จากโครงการประปาภูเขา ช่องเรือ ของราษฎรจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
สํานักชลประทานที่ 16 ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนร่วมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฎรที่ประสบความ เดือดร้อนได้โดยการก่อสร้าง ฝายคลองช่องเรือทดแทนทํานบคอนกรีตเดิมที่ชํารุด พร้อมระบบท่อส่งน้ำ และถังอุปโภค-บริโภค เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าว
ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วและทรงรับเป็นโครงการพระราชดําริ ตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการที่ รล 0005.5/18753 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค - บริโภคช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค - บริโภคได้เพียงพอ ตลอดปีและสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจํานวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก หมู่ที่ 5บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน ประชากร
รายละเอียดโครงการ
- ที่ตั้งหัวงานพิกัด 47 NQH 331-361 ระวาง 5,222 III
- พื้นที่รับน้ำ ประมาณ 3,800 ตร.กม. ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,227.04 มม.
ลักษณะโครงการ
- ก่อสร้างฝายสูง 2.00 เมตร จํานวน 1 แห่ง
- ก่อสร้างถังเก็บน้ำ 1,600 ลูกบาศก์เมตร
- ถังกรองน้ำ - ถังเก็บน้ำความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จํานวน 11 แห่ง
- ท่อส่งน้ำ ∅ 0.25 เมตร 0.15 เมตร และ0.055 เมตร ความยาวรวม 12,325 เมตร
ระยะดําเนินการ
ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใน ปี 2547
งบประมาณในการก่อสร้าง
งบประมาณที่ได้รับ 22,906,000 บาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค ให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ , หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ , หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก และหมู่ที่ 5 บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน จํานวนประชากรประมาณ 1,798 คน มีน้ำใช้สําหรับอุปโภค - บริโภค ได้ตลอดทั้งปี
โครงการฝายคลองช่องเรือ
(อันเนื่องมาจากพระราชดําริ)
ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี






โครงการฝายคลองโผงโผง อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ตําบลปากล่อ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี


ที่ตั้งโครงการ
บ้านโผงโผง หมู่ที่ 8 ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ประวัติโครงการ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือที่ นร.1108/926 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณากรณี นายฮัมดุลบาซิม อาบูประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วน ตําบลปากล่อ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานีได้ขอพระราชทานพระกรุณาให้ทางราชการสนับสนุนราษฏร หมู่ที่ 4,6,7,และ8 ตําบลปากล่อ และหมู่ที่ 5 ตําบลทุ่งพลา อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เพื่อช่วยเหลือราษฎร ซึ่งขาดแคลนน้ําสําหรับอุปโภค – บริโภคและทําการเกษตร
สํานักชลประทานที่ 12 ได้ให้เจ้าหน้าที่ได้รวมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่างๆ ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฏรที่ประสบความเดือนร้อนได้ โดยการก่อสร้างฝายทดน้ํา จํานวน 1 แห่ง และก่อสร้างระบบท่อส่งน้ําพร้อมอาคารประกอบ
ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ้าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงรับเป็นโครงการพระราชดําริตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการ ที่ รล0005/7637 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2544
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือราษฏรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ําสําหรับ อุปโภค – บริโภค ช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค – บริโภค ได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปีสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ซึ่งราษฏรได้รับความเดือดร้อน 2 หมู่บ้าน คือ

1. หมู่ 4,6,7,8, ตําบลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวนประมาณ 544 ครัวเรือน ราษฏรประมาณ 2,720 คน

2. หมู่ 5 ตําบลทุ่งพลา อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 60 ครัวเรือน ราษฏรประมาณ 300 คน
รายละเอียดโครงการ
- ที่ตั้งหัวงาน พิกัด 47 NQH 381 - 316 ระวาง 5222 III
- พื้นที่รับน้ํา ประมาณ 6.00 ตร.กม. ปริมาณฝนเฉลี่ย .227 มม.
ลักษณะโครงการ
- ก่อสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 2.00 ม. จํานวน 1 แห่ง
- ก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำ (ท่อเหล็กอาบสังกะสี และท่อ PVC) ขนาด 0.15 ม. Ø 0.20 ม. Ø และ Ø 0.10 ม. พร้อมอาคารประกอบตามแนวท่อส่งน้ําความยาวท่อส่งน้ำรวม 10.200 ม.
ระยะเวลาดําเนินการ
ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2545
งบประมาณในการก่อสร้าง
งบประมาณที่ได้รับ 23,025,400 บาท
ประโยชน์ที่ได้รับ
เมื่อก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือราษฎร หมู่4,6,7,8, ตําบลปากล่อ อําเภอโคกพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวนประมาณ 544 ครัวเรือน ราษฎรประมาณ 2,700 คน และหมู่ 5ตําบลทุ่งพลา อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวนประชากร 60 ครัวเรือน ราษฏรประมาณ 300 คน ให้มีน้ำใช้อุปโภค – บริโภค ได้เพียงพอตลอดทั้งปี และสามารถใช้น้ำในการเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้

โครงการฝายคลองโผงโผง
อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ตําบลปากล่อ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี






โครงการฝายเขาใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดําริ

โครงการฝายเขาใหญ่อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
ที่ตั้งโครงการ : หมู่ที่ 5 บ้านเตราะแก่น ตําบลเแป้น อําเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ประวัติโครงการ : เมื่อวัน ที่ 30 กันยายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดําเนิน ทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองน้ำจืด - คลองแฆแฆ เพื่อพิจารณาก่อสร้างงานระบบ ระบายน้ำ ออกจากพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง และจัดหาสนับสนุนพื้นที่ทําการเกษตร ให้กับราษฎรตําบลต่าง ๆ ใน เขตอําเภอสายบุรี อําเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี โดยที่บริเวณบ้านจะเฆ่ และบ้านด่าน ตําบลแป้น จังหวัดปัตตานี ราษฎรขาดแคลนน้ำใช้ทํานาควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ตามบริเวณเชิงเขาในเขตตําบลมะแป้น มีสภาพภูมิประเทศเหมาะสม และราษฎรยินยอมให้ที่ดินในการก่อสร้าง เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือราษฎรหมู่บ้านต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อจัดหาน้ำให้กับราษฎร เพื่อใช้ในการทําการเกษตรและใช้อุปโภค - บริโภค
- จัดหาแหล่งน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
สถานที่ดําเนินการ : หมู่ที่ 5 บ้านเตราะแก่น ตําบลเแป้น อําเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
รายละเอียดโครงการ
- ข้อมูลทั่วไป
- ที่ตั้งหัวงาน พิกัด 47 NQH 791-461 ระวาง 5322III
- พื้นที่รับน้ำฝน 2 ตร.กม.
- ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,900 มิลลิเมตร
- ปริมาณน้ำทั้งปีที่ไหลมาตามลำน้ำ 12,000,000 ลบ.ม.
- ปริมาณน้ำไหลผ่านฝายสูงสุด 8.00 ลบ.ม./วินาที
- ขนาดสันฝายสูง 3.00 เมตร
- ขนาดสันฝายยาว 8.00 เมตร
- อาคารประกอบ
- ท่อส่งน้ำขนาด 1 - Ø 0.20 ม. ยาว 400 เมตร
- ท่อส่งน้ำขนาด 1 - Ø 0.15 ม. ยาว 9,890 เมตร
- ถังเก็บน้ำความจุ 1,600 ม 3.1 แห่ง
- ถังเก็บน้ำใสความจุ 50 ม 3.9 แห่ง
- โรงกรองน้ำขนาด 50 ม 3./ ชม. 2 โรง
- ถังตกตะกอนขนาด 50 ม 3./ ชม. 1 แห่ง
งบประมาณในการก่อสร้าง : จํานวน 21,000,000.- บาท ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบจาก กปร. ทั้งโครงการ
ผลประโยชน์ที่ได้รับ : สามารถส่งน้ำช่วยเหลือราษฎรจํานวน 3 หมู่บ้าน คือบ้านเตราะแก่น บ้านจะเฆ่ และบ้านสุเหร่า ให้มีน้ำใช้สําหรับอุปโภค - บริโภค ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกผักสวนครัว และช่วยเสริมพื้นที่นาบางส่วนตามแนวที่ราบเชิงเขาได้อย่างสมบูรณ์





ที่ตั้งโครงการ
หมู่ที่ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี
ประวัติโครงการ
สํานักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวังได้มีหนังสือที่ รล0005/13381 ลงวันที่ 24 กันยายน 2544 เรียนเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อพิจารณาเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ เพื่อจักได้นำความถวายบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริต่อไปโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีหนังสือที่ นร 1108/2098 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณา กรณี นายอาดัม บาเหมบูงา ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 กันยายน 2544 ถึงสํานักราชเลขาธิการ ขอให้นําความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค-บริโภค จากโครงการประปาภูเขา ช่องเรือ ของราษฎรจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
สํานักชลประทานที่ 16 ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนร่วมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฎรที่ประสบความ เดือดร้อนได้โดยการก่อสร้าง ฝายคลองช่องเรือทดแทนทํานบคอนกรีตเดิมที่ชํารุด พร้อมระบบท่อส่งน้ำ และถังอุปโภค-บริโภค เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าว
ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วและทรงรับเป็นโครงการพระราชดําริ ตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการที่ รล 0005.5/18753 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค - บริโภคช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค - บริโภคได้เพียงพอ ตลอดปีและสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจํานวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก หมู่ที่ 5บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน ประชากร
รายละเอียดโครงการ
- ที่ตั้งหัวงานพิกัด 47 NQH 331-361 ระวาง 5,222 III
- พื้นที่รับน้ำ ประมาณ 3,800 ตร.กม. ปริมาณฝนเฉลี่ย ffice:smarttags" />1,227.04 มม.
ลักษณะโครงการ
- ก่อสร้างฝายสูง 2.00 เมตร จํานวน 1 แห่ง
- ก่อสร้างถังเก็บน้ำ 1,600 ลูกบาศก์เมตร
- ถังกรองน้ำ - ถังเก็บน้ำความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จํานวน 11 แห่ง
- ท่อส่งน้ำ ∅ 0.25 เมตร 0.15 เมตร และ0.055 เมตร ความยาวรวม 12,325 เมตร
ระยะดําเนินการ
ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใน ปี 2547
งบประมาณในการก่อสร้าง
งบประมาณที่ได้รับ 22,906,000 บาท
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค ให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ , หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ , หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก และหมู่ที่ 5 บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน จํานวนประชากรประมาณ 1,798 คน มีน้ำใช้สําหรับอุปโภค - บริโภค ได้ตลอดทั้งปี